ล่าสุด

ลิงค์ที่เป็นมิตร

เปรียบเทียบ Copayment vs Deductible แตกต่างกันอย่างไร

2025-02-07     HaiPress

ทำความรู้จัก และเปรียบเทียบ Copayment vs Deductible มีความแตกต่างกันอย่างไร แบบไหนที่ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่

จากกรณีที่สมาคมประกันประกันชีวิตไทย ได้มีการออกเอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Copayment ระบุว่า หากเข้าเงื่อนไข Copayment ในปีกรมธรรม์ถัดไป ผู้เอาประกันต้องมีสัดส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30% หรือ 50% ของค่ารักษา มีผลในเดือน มี.ค.68 เป็นต้นไป

ทำความรู้จักและข้อแตกต่างระหว่าง Copayment และ Deductible

Copayment หมายถึง การร่วมจ่าย โดยกำหนดเป็นสัดส่วนจากค่ารักษาที่เกิดขึ้น เช่น Copayment 30% ของค่ารักษา ดังนั้นค่าใช้จ่ายสูงก็ต้องร่วมจ่ายสูงขึ้นตาม ค่าใช้จ่ายต่ำก็ร่วมจ่ายต่ำลงDeductible หมายถึง ความรับผิดชอบส่วนแรก ที่ผู้เอาประกันต้องเป็นผู้จ่ายเองเสมอ โดยประกันจะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาส่วนเกินเท่านั้น เช่น Deductible 30,000 บาท ผู้เอาประกันต้องจ่ายเอง 30,000 บาทเสมอไม่ว่าค่ารักษาจะสูงหรือต่ำเท่าไรก็ตาม ยกเว้นค่ารักษานั้นน้อยกว่า 30,000 บาท ก็รับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาจริงเต็มจำนวน

ตัวอย่าง 1 การร่วมจ่ายแบบ Copayment 30% แบบประกันสุขภาพทั่วไปที่ไม่มี Deductible (ความรับผิดชอบส่วนแรก)

สำหรับการเจ็บป่วยที่มีค่ารักษาจำนวน 100,000 บาท ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย 30,000 บาท (30%) และบริษัทประกันจ่ายที่เหลือ 70,000 บาทสำหรับการเจ็บป่วยที่มีค่ารักษาจำนวน 200,000 บาท ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย 60,000 บาท (30%) และบริษัทประกันจ่ายที่เหลือ 140,000 บาท

ตัวอย่าง 2 การร่วมจ่ายแบบ Copayment 30% แบบประกันสุขภาพที่มี Deductible (ความรับผิดชอบส่วนแรก) 30,000 บาท

สำหรับการเจ็บป่วยที่มีค่ารักษาจำนวน 100,000 บาท

ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองรวม 51,000 บาท โดยแบ่งเป็น (1) ความรับผิดชอบส่วนแรก 30,000 บาทและ (2) ร่วมจ่ายอีก 30% ของค่ารักษาที่เหลือ 70,000 บาท หรืออยู่ที่ 21,000 บาทบริษัทประกันจ่ายที่เหลือ 49,000 บาท

สำหรับการเจ็บป่วยที่มีค่ารักษาจำนวน 200,000 บาท

ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองรวม 81,000 บาท และ (2) ร่วมจ่ายอีก 30% ของค่ารักษาที่เหลือ 170,000 บาท หรืออยู่ที่ 51,000 บาทบริษัทประกันจ่ายที่เหลือ 119,000 บาท

สำหรับการเจ็บป่วยที่มีค่ารักษาน้อยกว่า 30,000 บาท ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองทั้งหมด เนื่องจากค่ารักษายังไม่เกินความรับผิดชอบส่วนแรก

ที่มา: สมาคมประกันชีวิตไทย และ K WEALTH ธนาคารกสิกรไทย

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
กลับไปด้านบน
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 อ่าวไทย [อ่าวไทย]      ติดต่อเรา   SiteMap