สสว.เจาะไส้ในพิษทรัมป์ขึ้นภาษีทั่วโลก ไทยโดนไป 36% ฟาด'เอสเอ็มอี'กลุ่มไหน พึ่งตลาดสหรัฐเท่าไร แล้วทางออกจะเป็นอย่างไร!!
แวดวงเศรษฐกิจข่าวใหญ่สะเทือนไปทั้งโลกหนีไม่พ้นคำประกาศกร้าวของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าในสหรัฐทุกประเภทกับประเทศที่ได้ดุลการค้า ของไทยถูกสหรัฐเรียกเก็บภาษีอัตราใหม่ 36% ส่วนสหภาพยุโรป 20 % จีน 34 % ญี่ปุ่น 24 % แอฟริกาใต้ 30 % ไต้หวัน 32 % อินเดีย 26 % กัมพูชา 49 % ลาว 48 % เวียดนาม 46 % เมียนมา 44 % อินโดนีเซีย 32 % มาเลเซีย 24 % ฟิลิปปินส์ 17 % สิงคโปร์ 10 % และไทย ที่ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 37 %มีผลวันที่ 9 เม.ย.นี้
กลุ่มธุรกิจที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ กลุ่มเอสเอ็มอี ที่จะมีต้นทุนสูงขึ้นลดทอนขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าลดลง และยังต้องตั้งรับการไหลบ่าของสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ที่แสวงหาตลาดทดแทนสหรัฐฯ ที่จะไหลเข้ามาในไทยอีกจำนวนมาก
ถามว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย พึ่งพาตลาดสหรัฐมากน้อยเพียงดู ลองไปดูข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า จากข้อมูลการส่งออกปี 67 พบว่า เอสเอ็มอีพึ่งพาตลาดสหรัฐสูงถึง 20 % ด้วยมูลค่า 7,634 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเอสเอ็มอีมีส่วนแบ่งของการส่งออกไทยไปสหรัฐที่ 14 % โดยสหรัฐเป็นตลาดส่งออกของเอสเอ็มอีลำดับที่ 2 รองจากจีน
ขณะที่เอสเอ็มอีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 2,563 ล้านดอลลาร์ ทำให้เอสเอ็มอีเกินดุล 5,070 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงม.ค. – ก.พ. ปี 68 เอสเอ็มอียังส่งออกไปสหรัฐมูลค่ารวม 1,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 39.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรกได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร อัญมณีและเครื่องประดับเฟอร์นิเจอร์ และพลาสติก คิดเป็นสัดส่วน 75 % ของ มูลค่าส่งออกของเอสเอ็มอีไปยังสหรัฐทั้งหมด
สำหรับผลกระทบจากมาตรการขึ้นกำแพงภาษีครั้งนี้ สสว. ประมาณการว่ามูลค่าส่งออกของเอสเอ็มอี ไปยังสหรัฐ ปี 2568 จะลดลง 1,128 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 38,300 ล้านบาท และอาจส่งผลให้ จีดีพี เอสเอ็มอี ปี 2568 ลดลง 0.2 % จากที่ สสว. ประมาณการการขยายตัวไว้ที่ 3.5 % โดยความรุนแรงของผลกระทบดังกล่าว ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองของรัฐบาลไทย รวมทั้งมาตรการตอบโต้ ของประเทศคู่ค้าอื่น ๆ
ทั้งนี้ สสว. ได้วิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ส่งออกเอสเอ็มอีในเบื้องต้นพบว่า มีสินค้า 12 กลุ่มหลัก ที่พึ่งพิงการส่งออกไปสหรัฐในระดับสูง ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้ากลุ่มนั้นไปยังสหรัฐเป็นตลาดหลักเกินกว่า 10% และมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะกระทบกับเอสเอ็มอีประมาณ 3,700 ราย ดังนี้
6. ยานยนต์และชิ้นส่วน ได้แก่ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถพ่วงและกึ่งพ่วง
-มูลค่าการส่งออก : 116 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วน เอสเอ็มอี : 8%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 21%
-จำนวนผู้ส่งออก SME : 138 ราย
7. ของปรุงแต่งทำจากพืชผักผลไม้ ได้แก่ น้ำผลไม้ ผลไม้ ผักผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม แยม
-มูลค่าการส่งออก : 73.97 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วนเอสเอ็มอี: 10%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 14%
-จำนวนผู้ส่งออกเอสเอ็มอี : 293 ราย
8. อะลูมิเนียมและของทำด้วยอะลูมิเนียม ได้แก่ สิ่งก่อสร้างทำด้วยอะลูมิเนียม ภาชนะอะลูมิเนียมสำหรับบรรจุก๊าซอัดหรือก๊าซเหลว และของอื่น ๆ ทำด้วยอะลูมิเนียม
-มูลค่าการส่งออก : 68.23 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วนเอสเอ็มอี : 55%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 53%
-จำนวนผู้ส่งออกเอสเอ็มอี : 74 ราย
9. เครื่องแต่งกายถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์ ได้แก่ เสื้อกั๊ก เสื้อผ้าของเด็กเล็ก สูท เชิ้ต ถุงมือทุกชนิด เสื้อโอเวอร์โค้ตของบุรุษ ชุดวอร์ม ชุดสกี และชุดว่ายน้ำ
-มูลค่าการส่งออก : 50.67 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วนเอสเอ็มอี : 17%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 41%
-จำนวนผู้ส่งออกเอสเอ็มอี : 190 ราย
10. ธัญพืช ได้แก่ ข้าว
-มูลค่าการส่งออก : 42.00 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วนเอสเอ็มอี : 5%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 11%
-จำนวนผู้ส่งออกเอสเอ็มอี : 85 ราย
11. กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่แผ่นยางปูพื้น อย่างกันกระแทก ท่อยางอุตสาหกรรม
-มูลค่าส่งออก 24 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วนเอสเอ็มอี : 16%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 16%
-จำนวนผู้ส่งออก เอสเอ็มอี : 121 ราย
12. กลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป ได้แก่ สัตว์น้ำแปรรูป จำพวก กุ้ง หอย ปู
-มูลค่าส่งออก 14 ล้านเหรียญสหรัฐ
-สัดส่วน เอสเอ็มอี : 7%
-พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ : 49%
-จำนวนผู้ส่งออก เอสเอ็มอี : 30 ราย
ทั้งนี้เอสเอ็มอีไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นการค้นหาตลาดใหม่และคู่ค้าในภูมิภาค รวมทั้งหาประโยชน์จากกฎเกณฑ์การค้าผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และใช้ฐานการผลิตจากประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาษี